นักลงทุน
สัมพันธ์

สารจากประธานกรรมการบริษัท

จากมุมมองทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ภาพรวมปี 2565 นั้นเริ่มต้นในเชิงบวกจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆของสถานการณ์โควิด-19 ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดได้เพียงไม่นานก็ถูกบั่นทอนด้วยการเกิดสงครามในยูเครน ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเป็นระยะๆโดยธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางประเทศอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงท่าทีทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐนับเป็นจุดสูงสุดในตลาดตราสารทุนทั่วโลกเนื่องจากเกือบตลอดปี 2565 มีการปรับฐานที่สำคัญในตลาดทุนโดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี รวมทั้งตลาดตราสารหนี้ก็เข้าสู่สภาวะถดถอยจากภาวะตลาดขาขึ้นตลอดช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เมื่อถึงจุดต่ำสุดปรากฏว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของดัชนี เอสแอนด์พี 500 หดตัวเกือบ 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวมีราคาลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 200 ปี ทั้งนี้ ท่ามกลางเหตุการณ์ดังกล่าว เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยยังค่อนข้างฟื้นตัวได้ กล่าวคือ เห็นการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจไทยเล็กน้อย โดยจีดีพี เติบโตที่ประมาณร้อยละ 3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ค่อนข้างไม่เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งปี โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 ทั้งนี้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอย่างรวดเร็วส่งผลให้ค่าเงินบาทได้รับแรงกดดันและอ่อนตัวลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐตลอดทั้งปี
ในขณะที่ผลประกอบการระยะสั้นของตลาดทุนและตราสารหนี้มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อผลประกอบการของฐานะการลงทุนหลักของบริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (FNS) แต่ปัจจัยทางการเงินแฝงอื่นๆมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อความสามารถของกลุ่มในการเข้าถึงการกู้ยืม ต้นทุนของการกู้ยืมและโอกาสการสร้างรายได้จากการลงทุนในบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์
ในปี 2565 FNS มีกำไรสุทธิรวมจำนวน 104.9 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับผลการขาดทุนสุทธิ 42.2 ล้านบาทในปี 2564 ทั้งนี้ ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญต่อผลการดำเนินงานทางการเงินในปี 2565 ได้แก่ การจำหน่ายบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด (FSL) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ FNS ถือหุ้นทั้งหมด การขายอาคารสถานที่และอุปกรณ์ที่อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ และการรับรู้กำไรจากบริษัทร่วมที่ลดลง โดย FNS มีกำไรจากการขายอาคารและอุปกรณ์จำนวน 298.8 ล้านบาท และมีผลขาดทุนจากการขาย FSL จำนวน 125.6 ล้านบาท ส่วนการรับรู้กำไรจากบริษัทร่วมที่ลดลงจากจำนวน 50.9 ล้านบาทในปี 2564 เหลือเพียง 6.2 ล้านบาทในปี 2565 นั้น มีสาเหตุหลักมาจากผลประกอบการในปี 2564 ได้รับรู้กำไรจากการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งถูกจำหน่ายออกไปเมื่อปลายปี 2564 สำหรับปี 2565 FNS ได้รับประโยชน์จากการขาดทุนที่ลดลงของบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) (MK) ซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 31.5
หลังจากการขาย FSL บริษัทได้เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ในปี 2565 การพัฒนาสำคัญที่นำไปสู่ความก้าวหน้าทางธุรกิจ ได้แก่ (1) การถอนตัวจากธุรกิจให้บริการทางการเงินโดยการขาย FSL ในเดือนพฤษภาคม (2) การเดินหน้าปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจในบริษัทร่วม บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)(MK) ซึ่งรวมถึงผลประกอบการที่แข็งแกร่งของธุรกิจก่อสร้างและให้เช่าอาคารคลังสินค้า การขายทรัพย์สินระดับรอง เช่น สนามกอล์ฟ ฟลอร่า วิลล์ แอนด์ คันทรี คลับ และการขยายกิจการบริการสุขภาพแบบองค์รวม RX Wellness (3) การเติบโตของยอดขายของบริษัทในเครือ บริษัท ขนม คาเฟ่ จำกัด (Kanom) ซึ่ง FNS มีหุ้นอยู่ร้อยละ 30 และ (4) ความก้าวหน้าของบริษัท บีเอฟทีแซด วังน้อย จำกัด (BFTZ WN) ที่น่าพึงพอใจ ในการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้า 88,000 ตารางเมตร ให้เช่าแก่บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าผลตอบแทนระยะสั้นในตลาดทุนและตราสารหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของกลุ่มแต่อย่างใด แม้ปัจจัยบางประการอาจมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม รวมทั้งโอกาสของกลุ่มในการสร้างรายได้จากการลงทุนก็ตาม ในการก้าวเข้าสู่ปี 2566 ในเดือนมกราคม ปรากฏว่าตลาดทุนอยู่ในภาวะที่ดีขึ้นจากการลดลงของเงินเฟ้อและมุมมองในเชิงบวกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารของสหรัฐ (Federal Fund Rate) จะขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางปีในระดับร้อยละ 5.00-5.25 อย่างไรก็ตาม ความไม่คงที่ของเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งบ่งชี้โดยดัชนีการจ้างงานและการบริโภคทำให้เกิดความกังวลว่า ธนาคารกลางของสหรัฐยังต้องทำงานหนักในการลดภาวะเงินเฟ้อไปสู่เป้าหมายร้อยละ 2 และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดอาจจะขึ้นสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาและคงอยู่เป็นเวลานาน สภาวะการณ์ดังกล่าวทำให้การตัดสินใจในการลงทุนลดลง ทั้งนี้แม้จะมีการยืนยันจากธนาคารกลางสหรัฐที่จะลดภาวะเงินเฟ้อรวมถึงควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐก็ยังเพิ่มสูงขึ้น (ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยทั่วโลก) ซึ่งอาจสร้างความประหลาดใจที่สภาวะเศรษฐกิจถอดถอยในสหรัฐและในยุโรปจะยังคงปรากฏแม้ยังไม่มีความแน่นอนว่าภาวะถดถอยนี้จะคงอยู่นานเท่าใด ภาวะการณ์นี้จะส่งผลโดยนัยในเชิงลบต่อรายได้และการจ่ายเงินปันผลของบรรษัท เมื่อถึงภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสูงขี้นจนถึงจุดสูงสุดในท้ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดทุนและตราสารหนี้ ตลาดทุนจะดำเนินธุรกิจเช่นไรในสภาวะดังกล่าว ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ กรณีคาดการณ์ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นภาวะถดถอยระยะสั้นและไม่รุนแรงซึ่งอาจได้เห็นตลาดทุนวิ่งสูงขึ้น แต่หากเป็นภาวะตกต่ำที่รุนแรงกว่าที่คาด เราอาจได้ประสบกับภาวะตลาดทุนตกต่ำในระดับเดียวกับปี 2565 อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจีนภายหลังการเปิดประเทศใหม่อีกครั้งในปี 2566 จะส่งผลบวกต่อการชะลอภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยด้วยเช่นกัน
เมื่อมาพิจารณาภาพรวมธุรกิจของกลุ่ม FNS อาจกล่าวได้ว่าการลงทุนหลัก ๆ ของกลุ่มสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทกว้างๆ ดังนี้ ประเภทแรกคือการลงทุนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการลงทุนใน บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) (MK) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพค โลจิสติกส์และอินดัสเทรียล (PROSPECT REIT) และ บริษัท บีเอฟทีแซด วังน้อย จำกัด (BFTZ WN) ประเภทที่สองคือการลงทุนในกิจการร่วมทุนหรือในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ซึ่งรวมถึงการลงทุนใน บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (NEO) และ บริษัท ขนม คาเฟ่ จำกัด(Kanom) ทั้งนี้ ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญต่อผลประกอบการของ FNS ในปี 2566 คือการวางเป้าหมายทางกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อแต่ละการลงทุนเหล่านั้น และการมุ่งสร้างรายได้จากการลงทุนนั้นๆ โดยผู้บริหารของ FNS มีบทบาทในการช่วยสนับสนุนเอื้ออำนวยให้การบริหารจัดการประสบความสำเร็จเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งได้แก่ 1) การจำหน่ายอาคารคลังสินค้าเพิ่มเติมขนาด 70,000 ตรม.มูลค่าราว 1,750 ล้านบาท ซึ่งบริหารจัดการโดย Prospect ให้แก่ PROSPECT REIT ในไตรมาสแรกของปี 2566 2) การที่ NEO เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในต้นปี 2567 และ 3) การเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของ Kanom พร้อมด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ NEO จะเป็นสภาพคล่องที่สำคัญของ FNS และในเวลาเดียวกัน ทางฝ่ายบริหารได้ดำเนินการมองหาโอกาสเพื่อการลงทุนและการดำเนินธุรกิจใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
ความคืบหน้าประการหนึ่งในไตรมาสแรกของปี 2566 คือ FNS ตัดสินใจใช้สิทธิ์ซื้อหน่วยเพิ่มทุน(Rights Units) ที่เสนอขายโดย PROSPECT REIT ซึ่งจะนำไปซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม นับแต่การเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา PROSPECT REIT มีผลประกอบการที่ดี กระแสเงินสดหมุนเวียนแข็งแกร่ง จึงสามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราที่น่าสนใจอย่างมาก
แม้ปี 2566 อาจเป็นปีที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจไทย (และของโลก) อีกปีหนึ่ง แต่ฝ่ายบริหารของ FNS ยังคงมั่นใจที่จะเดินหน้าสร้างความก้าวหน้าต่อไปในปี 2566 เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรที่ยั่งยืนให้แก่บริษัท

อ่านรายละเอียด >>

รายงานประจำปี

แบบฟอร์ม 56-1 ONE REPORT

แบบฟอร์ม 56-1

สรุปข้อมูล
การเงินประจำปี

งบการเงินรวม 2565 2564 2563
รายได้
รายได้จากการประกอบธุรกิจ 88.6 43.7 552.0
รายได้ค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าช่วง 198.1
รายได้อื่น 1.2 8.9 13.5
รวมรายได้ 89.8 52.1 763.6
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย
ต้นทุนทางการเงิน 49.0 58.8 72.7
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ 73.8 63.4 283.8
ค่าใช้จ่ายในการบริการและบริหาร 42.7 58.1 54.7
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น/ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุน - (32.9) 61.7
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ - 56.1 75.2
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 164.3 203.2 548.1
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน (74.5) (151.1) 215.5
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 6.2 50.9 30.8
กำไรจากการจำหน่ายอาคารและอุปกรณ์ 298.8 - -
ภาษีเงินได้ - รายได้ (ค่าใช้จ่าย) - - (23.0)
กำไร (ขาดทุน) สำหรับปีจากการดำเนินงานต่อเนื่อง 230.5 (100.2) 223.3
(ขาดทุน)กำไรสำหรับปีจากการดำเนินงานที่ยกเลิก-สุทธิจากภาษี (125.6) 58.1 -
กำไรสุทธิสำหรับปี 104.9 (42.1) 223.3
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.30 0.12 0.65
 
งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 2565 31 ธ.ค. 2564 31 ธ.ค. 2563
รวมสินทรัพย์ 3,291.4 4,128.5 4,068.3
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
   - หนี้สิน 721.0 1,511.2 1,261.9
   - ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,570.4 2,617.3 2,806.4
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 3,291.4 4,128.5 4,068.3
หุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว (หุ้น) 345,855,440
 
2565
31 ธ.ค. 2565
2564
31 ธ.ค. 2564
2563
31 ธ.ค. 2563
อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม 116.8% -15.9% 29.2%
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ย 2.8% -1.0% 5.5%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย 4.0% -1.6% 8.1%
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.28 0.58 0.45
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 7.43 7.57 8.11
 

งบการเงิน
รายไตรมาส

(ล้านบาท)

งบการเงินรวม (รายไตรมาส) Q1-2565
31 มี.ค.2565
Q2-2565
30 มิ.ย.2565
Q3-2565
30 ก.ย.2565
Q4-2565
31 ธ.ค.2565
Q1-2566
31 มี.ค.2566
Q2-2566
30 มิ.ย.2566
% QoQ % YoY
รายได้
รายได้จากการประกอบธุรกิจ 17.5 45.6 16.7 8.8 11.2 89.0 692.3% 95.1%
รายได้อื่น 1.0 0.2 - - 3.1 (2.2) -171.0% -1,200.0%
รวมรายได้ 18.5 45.8 16.7 8.8 14.3 86.8 505.6% 89.5%
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ 14.1 26.7 20.7 12.3 12.6 17.8 41.5% -33.2%
ค่าใช้จ่ายในการบริการและบริหาร 7.1 32.3 34.7 (32.6) 5.7 7.7 34.2% -76.3%
ขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน - - 1.7 na na
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน - - 7.8 na na
ขาดทุนจากการจำหน่ายบริษัทร่วม - - - - - - na na
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 21.2 59.0 55.4 (20.3) 18.3 34.9 90.7% -40.8%
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน (2.7) (13.2) (38.7) 29.1 (4.0) 51.9 -1,406.8% -493.0%
ต้นทุนทางการเงิน (14.1) (13.9) (11.0) (10.0) (7.0) (19.9) 183.6% 42.8%
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (กลับรายการ) - - - - - - na na
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) ของบริษัทร่วมและการร่วมค้า (28.6) (30.9) 31.4 34.3 1.6 15.3 874.5% -149.5%
กำไรจากการจำหน่ายอาคารและอุปกรณ์ - 298.8 - - - - na na
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ - - (0.8) 0.8 - - na na
กำไร (ขาดทุน) สำหรับงวดจากการดำเนินงานต่อเนื่อง (45.4) 240.8 (19.1) 54.2 (9.4) 47.3 -603.5% -80.3%
กำไร (ขาดทุน) สำหรับงวดจากการดำเนินงานที่ยกเลิก 28.3 (153.9) - - - - na na
กำไร (ขาดทุน) สำหรับงวด (17.1) 86.9 (19.1) 54.2 (9.4) 47.3 -603.5% -45.5%
กำไรต่อหุ้น (บาท) (0.05) 0.26 (0.06) 0.15 (0.03) 0.14 -566.7% -46.2%
 
งบการเงินรวม 31 มี.ค.2565 30 มิ.ย.2565 30 ก.ย.2565 31 ธ.ค.2565 31 มี.ค.2566 30 มิ.ย.2566 % QoQ % YoY
รวมสินทรัพย์ 3,879.2 3,776.5 3,482.9 3,291.4 3,228.0 3,713.4 15.0% -1.7%
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
   - หนี้สิน 1,283.5 1,227.1 920.0 721.0 663.0 1,150.1 73.5% -6.3%
   - ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,595.7 2,549.4 2,562.9 2,570.4 2,565.0 2,563.3 -0.1% 0.5%
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 3,879.2 3,776.5 3,482.9 3,291.4 3,228.0 3,713.4 15.0% -1.7%
หุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว(หุ้น) 345,855,440
 
Q1-2565
31 มี.ค.2565
Q2-2565
30 มิ.ย.2565
Q3-2565
30 ก.ย.2565
Q4-2565
31 ธ.ค.2565
Q1-2566
31 มี.ค.2566
Q2-2566
30 มิ.ย.2566
% QoQ % YoY
อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม -92.4% 189.7% -114.4% 615.9% -65.6% 54.5% -183.1% -71.3%
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ย -0.4% 2.3% -0.5% 1.6% -0.3% 1.4% -572.9% -39.9%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย -0.7% 3.4% -0.7% 2.1% -0.4% 1.8% -604.2% -45.4%
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.49 0.48 0.36 0.28 0.26 0.45 73.6% -6.8%
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 7.51 7.37 7.41 7.43 7.42 7.41 -0.1% 0.5%
 

ตัวชี้วัดผลงาน

กำไรต่อหุ้น (ในรอบ12 เดือน)

ส่วนของผู้ถือหุ้น

สินทรัพย์รวม

มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น

ข่าวและประกาศ

ราคาหุ้น

เงินปันผล

ช่วงเวลา เงินปันผล วันที่ขึ้น XD วันที่จ่ายเงินปันผล
1 ม.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 0.20 บาท 9 พ.ค. 66 24 พ.ค. 66
1 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 0.50 บาท 11 พ.ค. 65 27 พ.ค. 65
1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 0.15 บาท 11 พ.ค. 64 27 พ.ค. 64
1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 0.35 บาท 8 มี.ค. 64 22 มี.ค. 64
1 ม.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 0.15 บาท 1 ต.ค. 63 14 ต.ค. 63
1 ม.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 0.15 บาท 3 พ.ค. 62 21 พ.ค. 62
1 ม.ค. 60 - 31 ธ.ค. 60 0.15 บาท 7 พ.ค. 61 24 พ.ค. 61
1 ม.ค. 59 - 31 ธ.ค. 59 0.10 บาท 3 พ.ค. 60 24 พ.ค. 60
1 ม.ค. 58 - 31 ธ.ค. 58 0.10 บาท 3 พ.ค. 59 19 พ.ค. 59
1 ม.ค. 58 - 30 มิ.ย. 58 0.20 บาท 14 ต.ค. 58 27 ต.ค. 58
1 ม.ค. 57 - 31 ธ.ค. 57 0.10 บาท 3 พ.ค. 58 25 พ.ค. 58

หัวข้อในการประชุมผู้ถือหุ้น/ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น

  • การเสนอระเบียบวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ เป็นการล่วงหน้าในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
    >> อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น

รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น